fbpx

มาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกอิตาเลียนผู้อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมระดับไอคอนหลายแห่งของไทย

นอกจากอาจารย์ศิลป์ พีระศรีแล้ว ยังมีชาวอิตาเลียนอีกหลายคนที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การสร้างสรรค์ของไทย และหนึ่งในนั้นคือ Mario Tamagno นั่นเอง

หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ห้า เสด็จพระราชดำเนินกลับจากทวีปยุโรป ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ (ค.ศ. ๑๘๙๗) มีพระประสงค์ให้สร้างที่ประทับใหม่ เนื่องจากสภาพพระบรมมหาราชวังที่มีอายุกว่าร้อยปีเริ่มคับแคบ ผู้คนข้าราชสำนักและข้าราชบริพาร พำนักอาศัยร่วมกันอย่างแออัด มีการปลูกสร้างพระตำหนัก เรือน อาคารใหม่ เพิ่มขึ้นมากมาย สิ่งก่อสร้างที่อยู่รายรอบพระที่นั่งที่ประทับ จึงบังทิศทางลม ทำให้อากาศร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน จนมีผลต่อพระพลานามัยในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ประกอบกับในคราวเสด็จประพาสต่างประเทศได้เสด็จทอดพระเนตรพระราชวังและพระราชอุทยานของกษัตริย์ของประเทศต่างๆ เห็นฝีมือสถาปัตยกรรมในอิตาลีที่งดงาม รวมทั้งอาจเป็นทรงเห็นว่าอิตาลีนั้นไม่สนใจที่จะล่าอาณานิคมด้วยก็เป็นได้ เพราะในขณะนั้นไทยกำลังเผชิญกับแรงกดดันทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส และชาติล่าอาณานิคมอื่นอย่างหนัก

สยามจึงมีการทำสัญญาจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาทำการออกแบบและก่อสร้าง เพื่อให้สยามมีความเจริญก้าวหน้าทันสมัยเทียมอารยประเทศ ทั้งสถาปนิก วิศวกร ประติมากร จิตรกร มัณฑนากร เข้ามาทำงานในราชสำนัก นับเป็นครั้งแรกที่ทางการสยามจ้างช่างที่มาจากชาติเดียวกันเกือบทั้งหมด

Mario

มาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno)
สถาปนิกชาวอิตาเลียน

มาริโอ ตามาญโญ (Mario Tamagno) สถาปนิกชาวอิตาเลียน เดินทางมารับราชการในกรมโยธาธิการ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) พร้อมกับช่างอิตาเลียนที่ชำนาญด้านต่าง ๆ กันอีกสามสี่คน  เขาเป็นหนึ่งในชาวตะวันตกจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวอิตาเลียนที่ทำงานเป็นสถาปนิกและวิศวกรโยธาในช่วงรัชสมัยของกษัตริย์ โดยมีสัญญาว่าจ้างเป็นเวลา ๒๕ ปี

ananta-building-01
ananta-building

พระที่นั่งอนันตสมาคม สถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนสซองส์ และนีโอคลาสสิก

มาริโอ ตามาญโญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ปีพุทธศักราช ๒๔๒๐ (ค.ศ. ๑๘๗๗) ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เข้าเรียนสถาปัตยกรรมจากสถาบันศิลปะอัลแบร์ตีนา (Albertina Academy of Fine Arts) หลังสำเร็จการศึกษาก็ได้สอนวิชาด้านทัศนีภาพวิทยาที่อัลแบร์ตีนา ในปีพุทธศักราช ๒๔๓๘ (ค.ศ. ๑๘๙๕) ก่อนที่เขาเดินทางไปที่สยามในปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ (ค.ศ. ๑๙๐๐) ตามคำแนะนำจากสถาปนิกอิตาเลียนที่เคยทำงานให้รัฐบาลสยามมาก่อนและหมดสัญญา ซึ่งช่วงนั้นรัฐบาลสยามที่กำลังมองหาสถาปนิกและช่างสาขาอื่นๆ ที่เป็นอิตาเลียนเพื่อไปทำงานโครงการก่อสร้างในกรุงเทพฯ

thaikhufha-building

บ้านนรสิงห์ ออกแบบร่วมกับ อันนิบาล ริกอตติ (Annibale Rigotti) สถาปัตยกรรมนีโอกอทิกแบบเวนิส
ภาพ : หนังสือทำเนียบรัฐบาล โดยสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

nelson-hayes

ห้องสมุดเนลสันเฮย์ สถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก

ช่วงนั้น สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี (Italianate architecture หรือ Italianate style of architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ของยุคสถาปัตยกรรมที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูสถาปัตยกรรมคลาสสิก (Neoclassical architecture) ยังมีอิทธิพลอยู่ เนื่องจากสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern architecture หรือ Modernist architecture) ได้เริ่มสร้างกันอย่างจริงจัง และนิยมกันแพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเวลาประมาณ ๓๐ ปี (ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐) ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งก่อสร้างแบบสถาบันและธุรกิจ

Previous
Next

หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า มาริโอ ตามาญโญ ผู้นี้คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังสถาปัตยกรรมระดับไอคอนมากมายของเมืองไทย ยกตัวอย่างเช่นพระที่นั่งอัมพรสถาน สะพานมัฆวานรังสรรค์ พระที่นั่งอนันตสมาคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ บ้านนรสิงห์ (ทำเนียบรัฐบาลในปัจจุบัน) มิวเซียมสยาม ห้องสมุดเนลสันเฮย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ไปจนถึงเป็นผู้ออกแบบการปรับโฉมสถานีรถไฟหัวลำโพงด้วย 

หลังจากสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับราชสำนักสยามจบลง ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๘ (ค.ศ. ๑๙๒๕) เขายังคงควบคุมการก่อสร้างบ้านนรสิงห์ ต่ออีกระยะหนึ่ง แล้วจึงเดินทางกลับไปยังอิตาลี แต่เมื่อกลับถึงอิตาลีในขณะนั้น อยู่ในระยะเริ่มต้นของ ระบอบฟาสซิสต์ มีการออกกฎหมายใหม่ให้สถาปนิกต้องเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรสถาปนิก ตามาญโญจึงรวบรวมเอกสาร ภาพถ่าย แบบแปลน เพื่อจัดทำรายการผลงาน ยื่นแสดงต่อองค์กรสถาปนิก และยังคงประกอบอาชีพสถาปนิก ซึ่งขณะนั้นเขาเพียงคนเดียวที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคฟาสซิสต์ จนกระทั้งตามาญโญถึงแก่กรรม ในเดือนมกราคม ปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ (ค.ศ. ๑๙๔๑) ด้วยโรคมะเร็ง ในวัย ๖๔ ปี

สามารถติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม New Life for Kiti Panit, a Chiang Mai Legacy และ พิพิธภัณฑ์บ้านปาร์คนายเลิศ เพิ่มเติมได้จาก kooper.co

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest

More to explore