fbpx

เมื่อศิลปินอิตาเลียนมาพำนักที่เมืองไทย ได้ถ่ายทอดความประทับใจแสบๆ คันๆ เป็นงานศิลปะ

มักกะโรนีผัดฉ่า… งานศิลปะแบบแสบๆคันๆ จากศิลปินอิตาเลียนที่มาพำนักที่ไทย

Marco Melgrati (มาร์โก เมลกราติ) เป็นศิลปินชาวมิลานที่ร่ำเรียนมาด้านวิจิตรศิลป์ ทำสร้างสรรค์งานภาพวาดดิจิตอลมาตั้งแต่ปี 2009 ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ ทำงานวาดภาพประกอบและเดินทางไปทั่วโลก แต่จนแล้วจนรอดเขาไม่เคยมาเยือนเอเชียเลยสักกะหน เมื่อคิวเรเตอร์จาก ศุภโชค ดิ อาร์ต เซ็นเตอร์ เชื้อเชิญให้มาร์โก มาเป็นหนึ่งในศิลปินในโครงการ SAC Residency Program เขาก็ตอบตกลงทันที และเมื่อจบโปรแกรมแล้ว เขาก็ได้จัดแสดงผลงานในนิทรรศการ Depression Contour ร่วมกับศิลปินอื่นๆ ที่แกลเลอรี่ ศุภโชค ดิ อาร์ตเซ็นเตอร์

ศิลปินหนุ่มแดนมักกะโรนี ได้มาพำนักอยู่ที่เมืองไทยเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อทำงานศิลปะอย่างอิสระ ประสบการณ์เยือนเมืองไทยและเอเชียครั้งแรกทำให้ศิลปินผู้นี้ต้องตะลึงพรึงเพริศกับความต่างทางวัฒนธรรม (Culture shock) ก่อนอื่นเขาออกตัวก่อนว่า ความประทับใจในการใช้ชีวิตที่เชียงใหม่นั้นเป็นในแง่ดีเสียส่วนใหญ่ แต่ก็มีที่ประทับใจน้อยบ้างมากบ้าง แน่นอนว่าไม่มีประเทศไหนเพอร์เฟคต์ แม้แต่อิตาลีประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเขาเองก็เถอะ ภาพวาดที่มาร์โก้ทำขึ้นในประเทศไทยคอลเลกชั่นนี้จึงเป็นมุมมองที่มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ

ความประทับใจของศิลปินที่มีต่อเมืองไทย มีตั้งแต่ธรรมชาติอันน่าตื่นตา ความเชื่อและประเพณีที่เขาไม่เคยรู้จักมาก่อน อย่างเช่นความเชื่อเรื่องพญานาคที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำปิง รวมถึงถ่ายทอดความประทับใจกับวิถีคอรัปชั่นในชีวิตประจำวันของบ้านเราได้อย่างแสบสันต์ และแน่นอนว่ารวมถึงเรื่องราวของรัฐบาลทหารที่เขาต้องเห็นตามจอทีวีตลอดเวลาที่อยู่เมืองไทย

อย่างไรดี มาร์โก สรุปรวบตึงว่า ความประทับใจต่อเมืองไทยนั้นมีเรื่องดีๆ มากกว่าเรื่องไม่ดีหลายเท่าตัวนัก และเขาชอบเมืองไทยสุดๆ (ตอบได้ very thai จังเลยนะมาร์โก้!)

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest

More to explore

แผลเก่า:Old Wound แผลเดิมในเรื่องเล่า ที่ยังเป็นแผลสดของพล็อตสังคมไทย

นิทรรศการ แผลเก่า / Old Wound นิทรรศการเดี่ยวโดย ประทีป สุธาทองไทย ศิลปินนักตั้งคำถาม ผู้ซ่อนบทสนทนาทางสังคมไว้ในงานเสมอ

“Yesterday I Was, Tomorrow I Will Be” นิทรรศการแห่งความฝันและความสำเร็จของ “Pomme Chan”

ก้าวสู่โลกที่เปี่ยมไปด้วยแพชชั่น ผ่านผลงานศิลปะตั้งแต่ชิ้นแรกที่น้อยคนจะได้เห็น สู่วันที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพร่วมระยะเวลา 20 ปี