fbpx

เทคนิคการเขียนประวัติศิลปินให้น่าสนใจ

ไม่ว่าจะเป็นการสมัครงาน พิชงาน หรือเขียนโปรไฟล์ใส่โซเชียล นี่คือทริคง่ายๆ ที่จะช่วยให้โปรไฟล์ของคุณดูดีขึ้น

ในยุคปัจจุบันที่การพบเจอกันอาจจะเกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกเสมือน การสร้างโปรไฟล์ให้น่าสนใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อย ถ้าต้องการสร้างความประทับใจแรกเริ่มหรือ first impression ไม่ว่าจะเป็นในการออกเดทหรือการทำงาน เพราะโปรไฟล์นี่แหละที่เป็นเหมือนหน้าต่างบานแรกที่จะทำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาได้รู้จักกับตัวตนของคุณมากยิ่งขึ้น แต่ก็นะ… ถ้าเป็นนักเขียน เรื่องนี้ก็คงไม่ยากนัก แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาๆ หรือเป็นศิลปินหรือครีเอเตอร์ที่เขียนไม่เก่งล่ะ ไม่ต้องกลัวไป เรามีหลักการเบื้องต้นในการเขียนโปรไฟล์มาบอก ซึ่งสามารถใช้กับทั้งเรซูเม่ เว็บไซต์ นิทรรศการไปจนถึงโซเชียลมีเดียเลยนะ

  1. บอกรายละเอียดให้ชัดเจน – ลองจินตนาการดูว่าคนอ่านไม่รู้จักคุณเลย แต่อยากจะรู้จักคุณ สิ่งที่ควรจะบอกก็คือข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตนเอง ถ้าไม่อยากบอกชื่อเต็ม อย่างน้อยก็ควรจะบอกว่าทำอะไร (เช่น อาชีพ อย่างครีเอเตอร์ นักเขียน นักแปล ศิลปิน ฯลฯ) และถ้าจะให้ดีก็ระบุให้ชัดเจนอีกสักหน่อยถึงสาขาที่ถนัด เช่น ศิลปินอิลลัสเตรเตอร์ ครีเอเตอร์ digital art เป็นต้น และจะให้ดีกว่านั้นคือการระบุถึงทักษะที่เป็นจุดแข็งของคุณด้วย
  2. เลือกแต่สิ่งที่สำคัญ – คุณอาจจะเกิดมาเป็นนักเขียนหรือนักเล่าเรื่อง แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ทั้งชีวิตลงไปในหน้ากระดาษ
  3. มีคีย์เวิร์ดสำคัญ – ถ้าเป็นการสมัครงาน ก็ควรจะมีคำที่เกี่ยวกับตำแหน่งงานที่สมัครด้วย ถ้าเป็นโปรไฟล์โซเชียลมีเดียที่อยากให้คนค้นหาคุณเจอ ก็ควรจะมีแฮชแท็คสำคัญที่ทำให้คนอื่นมาพบเจอคุณได้ง่ายขึ้น
  4. ใส่ความครีเอทีฟไปสักหน่อย – ถ้าเป็นการร่างเรซูเม่ คุณอาจจะใส่ความครีเอทีฟลงไปในรูปแบบการนำเสนอ (ลองจินตนาการดูว่าว่าที่นายจ้างจะต้องเจอกับเรซูเม่คนอื่นอีกหลายสิบคน จะทำอย่างไรให้เรซูเม่ของเราเด่นเด้งออกมา) หรืออาจจะเพิ่ม storytelling ลงไปในส่วนบรรยายเกี่ยวกับตัวเองก็ได้ แต่ก็ต้องดูไม่ให้มากไปจนเกินงาม ส่วนถ้าเป็นโซเชียลมีเดียก็อาจจะเลือกใช้คำที่ดูครีเอทีฟหน่อย แต่ก็ให้เข้าใจง่ายด้วย เช่น ริชาร์ด แบรนสัน เขียนคำบรรยายให้โปรไฟล์อินสตาแกรมของเขาว่า “นักผจญภัยผู้เกลียดการใส่เนกไท ชอบความตื่นเต้น และเชื่อในการทำไอเดียต่างๆ ให้เป็นจริง หรือรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Dr Yes แห่ง @virgin!” อ่านแล้วก็ว้าวอยู่นะ
  5. อย่าลืมบอกสังกัด – นอกจากบริษัทที่ทำงานแล้ว จะอยู่ในกลุ่มหรือสมาคมใดก็อย่าลืมระบุไว้สักหน่อย เผื่อรุ่นพี่รุ่นน้องหรือเพื่อนร่วมสมาคมมาเจอก็จะได้ทำความรู้จักกันง่ายขึ้นอีกนิด จะเป็นสมาชิกกลุ่มคนรักมวลเมฆหรือกลุ่มเต้นสวิงก็ใส่ได้นะ
  6. คอนแท็คต้องมี – ถ้าเป็นสายสร้างสรรค์แล้วมีเว็บไซต์หรือเพจที่เป็นพอร์ตโฟลิโอของตัวเอง ก็ควรจะใส่ไว้ด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนได้เห็นงานของเรามากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการเพิ่มโอกาสให้มีคนซื้องานของเรามากขึ้นนั่นเอง
  7. ตรวจสอบตัวสะกด – หลายคนอาจจะคิดว่าตัวสะกดไม่สำคัญ แต่เราขอบอกว่าการสะกดผิดก็มีผลต่อความน่าเชื่อถือไม่น้อยเลย ดังนั้นถ้าจะให้ดี ให้เพื่อนหรือคนรู้จักช่วยกันอ่านอีกนิดก่อนเผยแพร่ก็จะช่วยได้อยู่ โดยเฉพาะเรซูเม่ที่ไม่ควรจะเขียนผิดเด็ดขาด

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest

More to explore

แผลเก่า:Old Wound แผลเดิมในเรื่องเล่า ที่ยังเป็นแผลสดของพล็อตสังคมไทย

นิทรรศการ แผลเก่า / Old Wound นิทรรศการเดี่ยวโดย ประทีป สุธาทองไทย ศิลปินนักตั้งคำถาม ผู้ซ่อนบทสนทนาทางสังคมไว้ในงานเสมอ

“Yesterday I Was, Tomorrow I Will Be” นิทรรศการแห่งความฝันและความสำเร็จของ “Pomme Chan”

ก้าวสู่โลกที่เปี่ยมไปด้วยแพชชั่น ผ่านผลงานศิลปะตั้งแต่ชิ้นแรกที่น้อยคนจะได้เห็น สู่วันที่ประสบความสำเร็จในสายอาชีพร่วมระยะเวลา 20 ปี